เมนู

ที่บอกความหมาย. จริงอยู่ นิบาตเหล่านั้น ช่วยขยายความที่จะพึงกล่าวให้
ชัดขึ้น.
เอตํ ศัพท์ในบทว่า เอตํ นี้ มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิด
ตามที่กล่าวแล้ว ในประโยคมีอาทิว่า
ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เห็นอริยสัจ 4
คือ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความพ้นทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ 8 อันมีปกติยังผู้ปฏิบัติ
ให้ถึงความพ้นทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ
การถึงสรณะของบุคคลนั้นนั่นแล เป็นที่
พึงอันเกษม นั่นเป็นที่พึ่งอันสูงสุด เพราะ
ว่าบุคคลอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจาก
ทุกข์ทั้งหมด.

แต่ที่มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่ ใน
ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปุถุชนเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระ
ตถาคตพึงกล่าวด้วยคำสรรเสริญ คำสรรเสริญนั่นเป็นเพียงเล็กน้อย เพียงขึ้นต่ำ
เพียงแค่ศีล. อนึ่ง ในที่นี้ เอตํ ศัพท์พึงเห็นว่า ใช้ในความหมายว่า ประจักษ์
ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่นั่นแล. เพราะว่า สูตรที่กำลังกล่าวถึง ด้วย
สามารถแห่งการพิจารณา พระอานนท์เถระผู้ธรรมภัณฑาคาริก ดำรงอยู่แล้ว
ในวุฒิธรรมกล่าวไว้ในครั้งแรกว่า เลตํ ดังนี้.

อธิบายคำว่า ภควา


ในบทว่า ภควตา นี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ บทว่า ภควา เป็น
คำเรียกบุคคลผู้เป็นที่เคารพ. เป็นความจริง คนทั้งหลายในโลกมักเรียกบุคคล